News

เสี่ยงมาแบบฉุกเฉิน P E P ช่วยคุณได้

เสี่ยงมาแบบฉุกเฉิน PEP ช่วยคุณได้

PEP (Post-Exposure Prophylaxis) ยาต้านเอชไอวี หลัง สัมผัสเชื้อใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยจะต้องทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง ติดต่อกันนาน 28 วัน

PrEP บทบาทสำคัญในการยุติโรคเอดส์

การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ยังคงเป็นวิกฤตด้านสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก โดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 38 ล้านคนทั่วโลก แม้ว่าการรักษา และการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะก้าวหน้าไปมาก แต่ความพยายามในการป้องกัน ยังคงมีความสำคัญต่อการยุติการแพร่ระบาดโรคเอดส์ เครื่องมือหนึ่ง ที่มีแนวโน้มดีที่สุดในการต่อสู้กับเอชไอวี คือ การป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ หรือการใช้ยา PrEP ที่มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อรายใหม่ และปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

ความก้าวหน้าในการรักษาและป้องกันเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รักษา จะนำไปสู่โรคเอดส์ได้ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) ในปัจจุบันทางการแพทย์ก้าวหน้าไปไกลมาก มียาที่สามารถป้องกันการติดเอชไอวีได้ มีทั้งแบบ ป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ ป้องกันหลังสัมผัสเชื้อ และผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ก็สามารถมีชีวิตเหมือนกับคนปกติทั่วไปได้ เพียงแค่ทานยาต้านไวรัสเป็นประจำทุกวัน การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นหัวใจสำคัญในการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มยาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการดำเนินไปของโรคและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น ผู้ป่วยจะรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีให้ตรงเวลาทุกวัน อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของไวรัส กรณีที่ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงหรือสงสัยแพ้ยา ควรรีบกลับมาพบแพทย์ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง การป้องกัน”ก่อน”สัมผัสเชื้อ การใช้ยาเพื่อป้องกัน… Read More »ความก้าวหน้าในการรักษาและป้องกันเอชไอวี

คู่มือและขั้นตอนการเริ่มใช้ PrEP

เอชไอวีเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาเอชไอวี แต่มีเครื่องมือหลายอย่างสำหรับการป้องกันเอชไอวี เช่น ถุงยางอนามัย การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นประจำ และการป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) ยา PrEP เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อเอชไอวี และเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การป้องกันเชื้อเอชไอวี ในคู่มือฉบับสมบูรณ์นี้ เราจะแนะนำคุณตลอดขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งาน PrEP รวมถึงว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร รับได้ที่ไหน และอื่นๆ อีกมากมาย

ภาวะซึมเศร้า กับการใช้สารเสพติดในกลุ่มผู้ติด HIV

ภาวะซึมเศร้า และการใช้สารเสพติด เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อย โรคทั้งสองประการนี้ สามารถส่งผลกระทบต่อทุกคน อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ การศึกษาพบว่า มีความเชื่อมโยงระหว่าง ภาวะซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี บทความนี้ จะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างสองโรคนี้ด้วยกัน

ถุงยางแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ควรทำอย่างไร

ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะที่รองรับ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยฝ่ายชายเป็นฝ่ายใช้สวมครอบอวัยวะเพศของตนเอง และเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับช่วยป้องกันการคุมกำเนิด และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางแตกสาเหตุเกิดจากอะไร ถุงยางแตก ขณะทำกิจกรรมทางเพศ เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ ดังนี้ ถุงยางแตกเสี่ยงต่ออะไรบ้าง ทำอย่างไรเมื่อถุงยางแตก สำหรับการร่วมเพศทางช่องคลอด สำหรับการร่วมเพศทางทวารหนัก สำหรับการทำออรัลเซ็กส์ วิธีใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง วิธีป้องกันถุงยางแตก ขอบคุณข้อมูล : Pobpad, Sanook อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ จะช่วยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเป็นวิธีการคุมกำเนิดอย่างหนึ่งสำหรับคู่รักที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ในขณะเดียวกันหากมีการใช้ถุงยางอนามัยที่ผิดวิธี ก็อาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น… Read More »ถุงยางแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ควรทำอย่างไร

ปวดหัวจี๊ด ตอนมีเซ็กส์ เป็นอะไรกันแน่

การปวดศีรษะ เวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ จะเป็นการใช้กล้ามเนื้อ และเกร็งตัวในช่วงเวลานาน อาจทำให้เกิดความเครียด และความตึงของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ อีกทั้งยังมีสารเคมีในร่างกาย เช่น อะดรีนาลิน ออกซิเตชัน และอะดรีนาลีนที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะเมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย ปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์ เป็นอย่างไร อาการปวดหัวขณะที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ Sex Headaches คือ อาการปวดศีรษะ ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ โดยมักเป็นการเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน มักปวดที่บริเวณหน้าผาก หรือส่วนหลังของศีรษะ รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้ หน้ามืด และอาจมีอาการเวียนศีรษะในบางกรณี กินระยะเวลาสั้นๆ หรือยาวนานได้แตกต่างกันออกไปแต่ละบุคคล โดยทั่วไป อาการจะหายไปได้เองภายใน 24… Read More »ปวดหัวจี๊ด ตอนมีเซ็กส์ เป็นอะไรกันแน่

รอทำไมตั้ง 3 เดือนในเมื่อตรวจ HIV ได้เร็วกว่านั้น

สำหรับใครที่มีความเสี่ยง และต้องการตรวจ HIV เดี๋ยวนี้ไม่มีความจำเป็นต้องรอนานถึง 3 เดือนแล้ว เพราะปัจจุบันมีวิธีการตรวจที่รวดเร็ว และให้ความแม่นยำสูง จะต้องทนเครียดถึง 3 เดือนไปทำไม ในเมื่อตอนนี้ 7 วันคุณก็สามารถเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัส HIV ได้แล้ว ตรวจ HIV เขาทำกันอย่างไร การตรวจ HIV วิธีที่ให้ผลแม่นยำมากที่สุด คือ การเจาะเลือดของผู้ที่คาดว่าจะได้รับเชื้อ ไปตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีในห้องปฏิบัติการ แบ่งตามรูปแบบที่แพทย์จะเลือกใช้ตรวจวินิจฉัย ได้แก่ ทำไมตรวจ HIV ถึงไม่ต้องรอนาน ถึงแม้ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อ HIV จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดก็ตาม แต่ด้วยวิธีการตรวจ HIV… Read More »รอทำไมตั้ง 3 เดือนในเมื่อตรวจ HIV ได้เร็วกว่านั้น

ทำความเข้าใจก่อนใช้ PrEP และ PEP

เพร็พ (PrEP) และ เป๊ป (PEP) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี กินเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี โดยจะแตกต่างกันที่การกินก่อน และกินหลังสัมผัสเชื้อ โดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้าน ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ PrEP & PEP คืออะไร ? เพร็พ (PrEP : Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ เหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงสัมผัสเชื้อสูง โดยจะต้องกิน วันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน เป๊ป (PEP… Read More »ทำความเข้าใจก่อนใช้ PrEP และ PEP